แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ 1
1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมายหากไม่มีจะเป็นอย่างไรตอบ มนุษย์เราจำเป็นต้องมีกฎหมาย เพราะว่า มนุษย์เป็นสัตว์อันประเสริฐที่เกิดตามธรรมชาติที่มีสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน แต่มนุษย์ไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังได้ จำเป็นต้องอาศัยพึงพาเพื่อนมนุษย์ด้วยกันอยู่รวมกันเป็นสังคมเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตและอยู่รอดได้ เช่นเดียวกันกับสัตว์ต่างๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน จะต้องมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นไม่เหมือนกัน กิริยาท่าทางเหมือนกัน สื่อภาษาเดียวกัน รวมตัวเพื่อป้องกันต่อสู้ภัยที่จะมาถึงตัว มนุษย์ก็เช่นเดียวกัน มีวัฒนธรรมของตนที่จะรวมตัวเข้าด้วยกัน ดังคำกล่าวว่า “มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตในสังคมและมีเหตุผล (rational and social being)”และถ้าหากไม่มีกฎหมาย ก็จะทำให้สังคมมนุษย์อยู่ได้อย่างลำบาก ไม่มีทิศทางในการดำเนินชีวิต เกิดการทะเลาะวิวาท ฆ่ากันตาย เป็นต้น
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
ตอบ สังคมปัจจุบันนี้ไม่สามรถดำรงอยู่ได้ถ้าหากปราศจากกฎหมาย เพราะว่า คนเรานำกฎหมายมาเป็นข้อบังคับ หรือกรอบการปฏิบัติและบทลงโทษเพื่อให้ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบในเกณฑ์ให้อยู่กันอย่างสงบสุข เเต่ถ้าหากไร้ซึ่งกฎหมายบ้านเมืองเเล้ว ผู้คนที่อยู่ร่วมกันในสังคมไม่ยึดมั่นในสิ่งที่ดีงาม ไม่มีความเกรงกลัว พยายามหาช่องว่างหรือช่องโหว่ของสังคมเพื่อหาทางเเสวงหาผลประโยช์นเข้ามาสู่ตยเอง อีกทั้งยังมีการใช้อำนาจของตนเองเป็นเครื่องมือในการเอารัดเอาเปรียบผู้อื่นที่อ่อนด้วยกว่าทางสังคม ยิ่งในสังคมปัจจุบันเป็นยุคที่ผู้คนค่อนข้างที่จะสนใจเเต่การพัฒนาทางด้านวัตถุนิยม เเต่ภายในจิตใจของคนจะสวนทางกัน ไม่มีการช่วยเหลือกัน เห็นเเต่ตัว ใครคิดจะทำอะไรก็ทำตามใจตนเอง คิดว่าจะทำอะไรก็ได้ ก็ไม่มีความผิดอะไร สังคมจะเกิดความวุ่นวาย เกิดความขัดเเย้งจนอาจทำไปสู่การชุมนุมเเละความศูนย์เสียก็เป็นได้
3. ท่านมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นของกฎหมายต่อไปนี้
ก. ความหมาย ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ค. ที่มาของกฎหมาย ง. ประเภทของกฎหมาย
ตอบ ก. ความหมาย
“กฎหมาย” หมายถึง คำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์ ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือ รัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นให้คนในรัฐหรือประเทศนั้นๆต้องปฏิบัติตามเเละมีสภาพบังคับ หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีบทลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
หมายความว่า กฎหมายนั้นต้องอยู่ในรูปของคำสั่ง คำบัญชา อันเป็นการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะเป็นการบังคับ เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ มิใช่เป็นการประกาศชวนเชิญเฉย ๆ เช่น ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลได้ประกาศเชิญชวนคนไทยให้สวมหมวก เลิกกินหมากและให้นุ่งผ้าซิ่นแทนผ้าโจงกระเบน ประกาศนี้แจ้งให้ประชาชนทราบว่ารัฐบาลนิยมให้ประชาชนปฏิบัติอย่างไร มิได้บังคับจึงไม่เป็นกฎหมาย
2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์
รัฎฐาธิปัตย์คือ ผู้ที่ประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน โดยที่ไม่ต้องฟังอำนาจจากผู้ใดอีก ดังนี้รัฎฐาธิปัตย์จึงไม่ต้องพิจารณาถึงที่มาหรือลักษณะการได้อำนาจว่าจะได้อย่างไร แม้จะเป็นการปฏิวัติหรือรัฐประหารก็ตามถ้าหากคณะปฏิวัติหรือคณะรัฐประหารเป็นรัฎฐาธิปัตย์ที่สามารถออกคำสั่ง คำบัญชาในฐานะเป็นกฎหมายของประเทศได้
3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป
หมายความว่า กฎหมายต้องเป็นเรื่องที่เมื่อประกาศใช้แล้วจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป ไม่ใช่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่ง หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดปฏิบัติตามเท่านั้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีอายุ เพศ หรือฐานะอย่างไรก็ตกอยู่ภายใต้ของการใช้บังคับกฎของกฎหมายอันเดียวกัน (โดยไม่เลือกปฏิบัติ) เพราะบุคคลทุกคนมีความเสมอภาคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน แม้กฎหมายบางอย่างอาจจะมีวัตถุประสงค์ที่จะให้ประโยชน์แก่บุคคล หรือวางความรับผิดชอบให้แก่คนบางหมู่เหล่า แต่ก็ยังอยู่ในความหมายที่ว่าใช้บังคับทั่วไปอยู่เหมือนกัน เพราะคนทั่ว ๆ ไปที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกฎหมายนั้นก็ยังต้องปฏิบัติตามอยู่เสมอ
4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม
แม้การปฏิบัติบางครั้งอาจจะเกิดจากความไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติ แต่หากเป็นคำสั่ง คำบัญชาแล้ว ผู้รับคำสั่ง คำบัญชา ต้องปฏิบัติตาม หากขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็จะเกิดสภาพบังคับของกฎหมาย อันเป็นผลร้ายต่อผู้ฝ่าฝืนคำสั่งนั้น และเป็นที่พึงเข้าใจด้วยว่าผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะรับคำสั่งและปฏิบัติตามกฎหมายได้นั้นต้องเป็นบุคคลตามกฎหมาย
5. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
เพื่อให้กฎหมายเกิดความศักดิ์สิทธิ์ และประชาชนเคารพเชื่อฟังปฏิบัติตามกฎหมายจึงต้องมีสภาพบังคับ (SANCTION) สภาพบังคับของกฎหมายนั้นแบ่งเป็นสภาพบังคับในทางอาญาและทางแพ่ง
ค. ที่มาของกฎหมาย
1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษรเช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพระราชกำหนดพระราชกฤษฎีกากฎกระทรวงเทศบัญญัติซึงกฎหมายดังกล่าวผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนาไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น การชกมวยเป็นกีฬา หากชนตามกติกา หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต ย่อมไม่ผิดฐานทาร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย อีกกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้ ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้ ย่อมถือว่าไม่มีความผิดเพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทาร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคาพิพากษา ซึ่งคาพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนาไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทาไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนาไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทาให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
ง. ประเภทของกฎหมาย
1. กฎหมายภายใน มีดังนี้
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
(1) กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร
(2) กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
(1) กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา
(2) กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
1.3 กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสาบัญญัติ
(1) กฎหมายสารบัญญัติ
(2) กฎหมายวิธีสาบัญญัติ
1.4 กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
(1) กฎหมายมหาชน
(2) กฎหมายเอกชน
2. กฎหมายภายนอก
2.1 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2.2 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
2.3 กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ จากคำกล่าวมี่ว่า "ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นมีสังคม ที่ใดมีสังคม ที่นั้นมีกฎหมาย ด้วยเหตุนั้น ที่ใดมีมนุษย์ ที่นั้นจึงมีกฎหมาย" กล่าวถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างกฎหมายกับสังคม เพราะกฎหมายนั้นเกิดขึ้นจากสังคมและเพื่อสังคมไม่อาจมีสังคมไหนจะธำรงอยู่ได้โดยไม่รู้สึกต้องการกฎเกณฑ์สำหรับจัดระเบียบพฤติการณ์ในสังคม มนุษย์จำต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อการใช้ชีวิตในประเทศให้มีความสุข การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัว ไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐจึงทำให้มนุษย์สร้าง กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น ระบบระเบียบแบบแผนที่มนุษย์สร้างขึ้นใช้เป็นเกณฑ์สร้างความสัมพันธ์เหล่านี้ เป็นแนวทางหรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เป็นแบบแผนเพื่อควบคุมควบความประพฤติสมาชิกในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม ซึ่งบางเรื่องมีลักษณะไม่คงที่ยาวนาน และบรรทัดฐานที่สำคัญทางสังคมคือ กฎหมาย (Law) เพื่อควบคุมพฤติกรรมและความขัดแย้งของมนุษย์เพื่อให้ประเทศอยู่เย็นเป็นสุข ข้าพเจ้าคิดว่าทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมายเพื่อเป็นเป็นกฎข้อบังคับในการอยู่ร่วมกันของคนในประเทศเพื่อความเรียบร้อยและความสงบสุข อีกทั้งกฎหมายของแต่ละประเทศจะบังคับบุคคลที่อยู่ในประเทศและบุคคลต่างที่เข้ามาอยู่ในประเทศด้วย
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ สภาพบังคับในทางกฎหมาย เป็นการทีบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยการกระทำและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายทีกำหนด หากไม่ปฏิบัติตามอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ ซึ่งมีทั้งสภาพบังคับทางอาญา เช่น ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน แต่หากเป็นคดีแพ่งผู้ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือค่าเสียหาย
6.สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ ต่างกัน คือ สภาพบังคับในทางอาญา เป็นการลงโทษ โทษทางอาญาที่จะใช้บังคับแก่ผู้ฝ่าฝืน คือ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ และริบทรัพย์สิน ซึ่งจะลงโทษประการใดแก่ผู้ใดนั้นก็จะต้องพิจารณาจากการกระทำของเขา ส่วนสภาพบังคับในทางแพ่งนั้น กรณีทั่วไปก็คือการบังคับให้กระทำหรืองดการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ กระทำความผิดจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหาย
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ มี 2 ระบบ
1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) มีลักษณะเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และไม่ได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษาของศาล ระบบกฎหมายจึงได้ยึดถือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย และระบบศาลมักจะใช้วิธีพิจารณาโดยระบบไต่สวน และศาลจะไม่ผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนๆ
2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาล และศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของ
ฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดำเนินการของฝ่ายบริหาร
8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก ประเภทของกฎหมายแบ่งออกเป็น 2ประเภท
กฎหมายภายใน
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ เช่น ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
4.2 กฎหมายเอกชน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบางฉบับ
กฎหมายภายนอก
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
9.ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไรมีการแบ่งอย่างไร ?
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย คือ เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกันในการจัดลำดับจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่าจะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลาดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไรโดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมายโดยใช้เหตุผลที่ว่า (1) การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญเป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้นเช่นพระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน (2)การให้รัฐสภาเป็นการทุ่นเวลาและทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายใน กฎหมายหลักฉบับนั้น
10.เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชนณลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือไม่
ตอบ เป็นการกระทำที่ผิด เพราะ ประชาชนมีสิทธิที่จะเรียกร้องสิทธิของตนเองเพราะประเทศไทย เป็นประเทศประชาธิปไตยมีสิทธีเสียงเท่ากัน รัฐธรรมนูญ ระบุอยู่แล้วว่า
1. บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2. บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย
3. บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิของตนเอง
4. บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ
11.ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายการศึกษา คือ บทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้น ที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคัของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับกฎหมาย เพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตาม ไปสู่การพัฒนาคนและสังคมสู่ความเจริญงอกงาม ธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ เสรีภาพของบุคคลและประเทศชาติ
12.ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ ถ้าเราไม่รู้กฎหมายทางการศึกษาจะทำให้เกิดผลกระทบหลายด้านไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจัดการศึกษาอย่างไรที่จะต้องเป็นไป เพื่อพัฒนาคนไทยให้ เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจสติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรม ในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และจะต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษานั้นต้องทำอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่คนเป็นครูจะต้องทราบเพื่อจะได้ส่งเสริม กระบวนการ จัดการศึกษาให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และเราไม่ ศึกษากฎหมายการศึกษาก็จะทำให้เราไม่รู้ว่ากฎหมาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น