วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

ข้อสอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา

1.ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ     - ศีลธรรม คือ ความประพฤติที่ดีที่งามของมนุษย์ทุกๆคน โดยไม่ได้ถูกจำกัดว่า บุคคลผู้นั้นจะมีเชื้อชาติหรือศาสนาอะไร มันเป็นเรื่องของมโนธรรมหรือจิตสำนึกที่ดีที่งาม ที่มนุษย์ทุกๆคนควรจะมี ตัวอย่างเช่น ความยุติธรรม ความถูกต้อง ความชอบธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความกตัญญู เป็นต้น และอีกหนึ่งความหายของศีลธรรม หมายถึงข้อบัญญัติที่กำหนดทางปฏิบัติกายวาจา ทางพุทธศาสนา เช่น ศีล 5 ศีล
ศีลธรรม ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง ความประพฤติประพฤติชอบ ธรรมในระดับศีล แต่ถ้าจะได้ความหมายชัดเจนจึงควรสรุปว่า  ศีลธรรม หมายถึง หลักแห่งความประพฤติดีประพฤติชอบอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนา และเป็นศัพท์บัญญัติที่ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า morals หรือ morality
              -จารีตประเพณี คือ ระเบียบแบบแผนของความประพฤติที่มนุษย์ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา ซึ่งโดยมากมักจะมุ่งเฉพาะการกระทำภายนอกของมนุษย์เท่านั้น และจารีตประเพณีเช่นว่านี้อาจจะเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะสังคมก็ย่อมได้ ตัวอย่างเช่น ประเพณีท้องถิ่นตามหมู่บ้านในชนบทต่างๆ หรือ ประเพณีทางการค้าระหว่างพ่อค้าด้วยกัน เป็นต้น
              -กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อย หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับโทษ และในอีกทางหนึ่งกฎหมายก็ยังเป็นสัญลักษณ์ และเป็นเครื่องมือในการแสดงออกซึ่งความยุติธรรมอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับต่อการกระทำของมนุษย์ไม่ได้มีแค่กฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
                  จากการที่ได้วิเคราะห์ความหมายของศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย สรุปว่า                        กฎหมายกับจารีตประเพณีมีความแตกต่างกันดังนี้
- กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่จารีตประเพณีเป็นข้อบังคับของชนชั้นใดชั้นหนึ่งหรืออาชีพใดอาชีพหนึ่งเท่านั้น
การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้กระทำจะมีความผิดและถูกลงโทษ แต่การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีจะได้รับเพียงการติเตียนจากสังคมเท่านั้น
- กฎหมายเป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์เพียงบางอย่างเท่านั้น แต่จารีตประเพณีครอบคลุมการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด
กฎหมายกับศีลธรรมมีความแตกต่างกันดังนี้
- กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ แต่ศีลธรรมเป็นความรู้สึกที่เกิดจากจิตใจของมนุษย์แต่ละคน
- ข้อบังคับของกฎหมายกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่ ส่วนศีลธรรมนั้นมิได้มีการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด
- กฎหมายกำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ที่แสดงออกมาให้เห็น แต่ศีลธรรมเป็นเพียงแต่คิดในทางที่ไม่ชอบก็ผิดศีลธรรมแล้ว
- กฎหมายนั้น ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ แต่ศีลธรรมนั้นขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของคนๆ นั้นโดยเฉพาะ โดยจะกระทบกระเทือนจิตใจของเขามากน้อยเพียงใดเท่านั้น
              ความสัมพันธ์ของศีลธรรม จารีตประเพณีและกฎหมาย มีหลายประการด้วยกัน แต่กฎหมายและจารีตประเพณีต่างก็เป็นกฎเกณฑ์ที่จัดระเบียบของสังคมเหมือนกัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข  ซึ่งกฎหมายอาจมีลักษณะแตกต่างจากฎเกณฑ์อื่นอยู่บ้างตรงที่กฎหมายมีโทษที่ค่อนข้างรุนแรงและเด็ดขาดกว่า สามารถนำมาบังคับใช้ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่า นอกจากนั้นแล้วกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่อาจสามารถเกิดขึ้นเองได้เหมือนกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แต่กฎหมายมีจุดกำเนิดหรือที่มาของกฎหมายจากศีลธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี ในเรื่องของศีลธรรมที่เรานำมาใช้เป็นที่มาของกฎหมาย 

2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ตอบ       ศักดิ์ของกฎหมาย (Hierarchy of law) คือ ลำดับชั้นของกฎหมายหรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น
                มีการจัดการดังนี้คือ เกณฑ์ที่ใช้กำหนดศักดิ์ของกฎหมายพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย  กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา  และเป็นการใช้อำนาจในการออกกฎหมายร่วมกันของสองสภา  คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุด  ในขณะที่กฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมา คือ พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด จะถูกพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรก่อนแล้วจึงจะผ่านไปยังวุฒิสภา ถือเป็นการแยกกันในการใช้อำนาจออกกฎหมาย (Ordinary laws are voted by the two Chambers deliberating separately) เมื่อกฎหมายแต่ละฉบับถูกบัญญัติโดยองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมายแตกต่างกัน ผลก็คือ ทำให้กฎหมายแต่ละฉบับมีศักดิ์ของกฎหมายหรือลำดับชั้นของกฎหมายไม่เท่ากัน  โดยลำดับชั้นของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ หมายถึง ค่าบังคับของกฎหมายแต่ละฉบับจะสูงต่ำแตกต่างกันไป  เช่น รัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและเป็นกฎหมายแม่บท  กฎหมายฉบับอื่นที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า  เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด  จะมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญไม่ได้ ทั้งนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติ  พระราชกำหนด ต่างก็เป็นกฎหมายลูกของรัฐธรรมนูญ คือต้องอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการตราเป็นกฎหมาย  ดังนั้น จึงเม่ากับว่ากฎหมายลูกจะขัดกับกฎหมายแม่ไม่ได้  ถ้ากฎหมายลูกขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นก็มีผลเป็นอันบังคับใช้ไม่ได้
                ตัวอย่างเช่น  รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ คือ รัฐสภา  แต่บางกรณีอาจมีองค์กรอื่นเป็นผู้จัดให้มีกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญได้ เช่น คณะปฏิวัติออกรัฐธรรมนูญการปกครอง ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เป็นต้น การจัดศักดิ์ของกฎหมาย มีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่างๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้  การตีความ  และการยกเลิกกฎหมาย เช่น  หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า กฎหมายฉบับอื่นที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า จะมีเนื้อหาของกฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่านั้นไม่ได้   หากพิสูจน์ได้ว่ามีความขัดหรือแย้งดังกล่าว ถือว่ากฎหมายลำดับชั้นต่ำกว่าจะถูกยกเลิกไป
            ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
1. รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. 
2. พระราชบัญญัติ
 3. พระราชกำหนด         
4. พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง 
5. พระราชกฤษฎีกา 
6. กฎกระทรวง 
7. เทศบัญญัติ

3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
ตอบ จากเหตุการณ์ดังกล่าว เวลาที่ครูบางคนโกรธ อารมณ์เสียหรือไม่พอใจสิ่งใด ก็มักมาลงอารมณ์กับเด็ก ด้วยการทำร้ายทารุน  เช่น ตบ ตี เตะ ต่อย ขว้างปาสิ่งของใส่ ด่าว่า ตะคอกด่าว่าเด็กด้วยถ้อยคำที่รุนแรงหยาบคาย  ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สร้างบาดแผลในใจเด็กทั้งสิ้น อีกทั้ง อาจส่งผลให้เด็กซึมซับเอาพฤติกรรมเหล่านี้มาจนกลายเป็นคนมีนิสัยและพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็น นักเลง ก้าวร้าว  โมโหร้าย เป็นต้น ตามเนื้อข่าวแล้วปัญหาคือเด็กอ่านหนังสือไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาปกติใน ชั้นเรียนที่นักเรียนแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นครูควรหาวิธีการสอน หรือแนวการสอนใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมในการอ่านของนักเรียนมากขึ้น ไม่ใช่มาใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา แม้ว่าปัญหาเรื่องการทำร้ายหรือทารุณกรรมเด็กจะไม่มีวันหมดไป จากสังคมไทย แต่ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และจะเป็นครูในอนาคตจึงมี หน้าที่ในการช่วยดูแลไม่ใช่ซ้ำเติม  และจากข่าวข้างต้นครูได้ทำร้ายเด็กเกินกว่าเหตุ เพราะแค่เด็กอายุเพียง 6 ขวบ อ่านหนังสือไม่ค่อยออก ไม่ควรทุบตีหรือทำร้ายเด็กขนาดนี้ ครูได้ประพฤติผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อปฏิบัติทางวินัยจึงต้องได้รับโทษทางวินัยที่ระบุไว้ในมาตรา 96 ซึ่งต้องโทษลาออก

4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
จุดแข็ง(Strength)
1.ส่งงานตรงเวลาตามที่อาจารย์กำหนดไว้
2.ปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้ดี เวลาทำงานกลุ่ม
3.ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน
4.ยอมเสียสละรับผิดชอบงานที่ตนเองมีความสามารถทำได้
5.กระตือรือร้นในการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมในการเรียน
จุดอ่อน(Weakness)
1.ต้องใช้ระยะเวลามากในการจดจำและทำความเข้าใจเนื้อหาการเรียน
2.ไม่ชอบทำกิจกรรมกลุ่ม เพราะมันวุ่นวายในการประสานงานระหว่างกลุ่ม
3.ขาดความรอบคอบในการตรวจทานงานที่ทำ
4.เมื่อไม่เข้าใจเนื้อหา มักไม่ถามอาจารย์
โอกาส(Opportunity)
1.ได้เรียนรู้และศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับอาชีพตนเองในอนาคตที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
2.ได้พัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษ เนื่องจากคำศัพท์เป็นศัพท์เฉพาะในวิชากฎหมาย
3.ได้เรียนรู้วิธีคิดใหม่ๆ จากการเรียน ทำให้สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตได้
4.สามารถนำความรู้จากการเรียนไปปรับใช้กับวิชาอื่นได้ 
อุปสรรค(Threats)
1.สื่อการเรียนการสอนส่วนมากเป็นเนื้อหาล้วนๆ ทำให้เข้าใจในเนื้อหายาก และต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ
2.เมื่ออาจารย์ให้ทำชิ้นงานหรือแบบฝึกหัด จะไม่รู้คำตอบที่ถูกต้องเพราะอาจารย์ไม่เฉลย
3.เนื่องจากเป็นการเรียนในช่วงเช้า ทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน
4.หิวในเวลาเรียน เนื่องจากไม่ได้ทานข้าวเช้าก่อนมาเรียน

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
ข้อดี
1. ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและสามารถปรับใช้กับการสอนในรายวิชาอื่นได้ ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างชิ้นงานที่เหมาะสม
2. เมื่อมีการนำเสนองาน อาจารย์จะช่วยเสริมความรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ซึ่งสามารถตอกย้ำความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
3. อาจารย์มีจิตวิญญาณความเป็นครูสูง ผู้เรียนสามารถดูเป็นแบบอย่างในการประกอบวิชาชีพได้
4. มีความรู้ที่ครบถ้วนและแม่นยำในรายวิชาที่สอน สามารถยกตัวอย่างในการเรียนการสอนได้
5. เชิญวิทยากรผู้มีประสบการณ์ในเรื่อง SWOT จากที่อื่นมาบรรยาย ทำให้ได้มุมมองความคิดใหม่ๆ
ข้อเสีย
1. การใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องก็เป็นได้ เนื่องจากเวลาอาจารย์ให้แบบฝึกหัดไปทำแล้วอาจารย์ไม่ได้เฉลยข้อมูลที่ถูกต้อง จึงทำให้นักศึกษาไม่อาจรู้เลยว่าข้อมูลหรือแบบฝึกหัดที่ตนเองได้ทำไปนั้นถูกต้องหรือไม่



อนุทินที่ 8

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการอบรมเรื่อง SWOT
วันที่ 24/3/2560

แนวคิดของ SWOT Analysis
SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต SWOT เป็นตัวย่อของข้อความที่มีความหมายดังนี้
Strengths             หมายถึง จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ
Weaknesses         หมายถึง จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ
Opportunities      หมายถึง โอกาสที่จะดำเนินการได้
Threats                 หมายถึง อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ
หลักการสำคัญของ SWOT 
การวิเคราะห์โดยการสำรวจสภาพแวดล้อม 2 ด้าน ได้แก่สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค  การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่จะมีผลต่อองค์กร และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมดำเนินการขององค์กรที่เหมาะสมต่อไป
ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT
การวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร จุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายในที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร  ผลจากการวิเคราะห์  SWOT  นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม

วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 7

แบบฝึกหัดทบทวน

พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎกระทรวง


คำสั่ง  ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)

1. เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
·       การศึกษาเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพเพื่อความสมบูรณ์และเจริญงอกงามทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม สังคม อารมณ์และจิตใจในการดำรงชีวิต เมื่อการศึกษานับเป็นกระบวนการพื้นฐานในการสร้างและพัฒนาคน ดังนั้น  ประชากรในประเทศหนึ่งๆจึงควรได้รับสิทธิในการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมโดยในประเทศไทยนั้นก็ได้มีกฎหมายเฉพาะที่ตราโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้และสนับสนุนสิทธิทางด้านการศึกษาของเด็กไทย โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545

วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 6

บทที่ 3
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และ
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545 และ
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2553

1. นักศึกษาอธิบายคานิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

ก. การศึกษา
          “การศึกษา” หมายความว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึก การอบรม การสืบสานทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์จรรโลง ความก้าวหน้าทางวิชาการ การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการจัดสภาพแวดล้อม สังคม การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ข. การศึกษาขั้นพื้นฐาน
          “การศึกษาขั้นพื้นฐาน” หมายความว่า การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา
ค. การศึกษาตลอดชีวิต
          “การศึกษาตลอดชีวิต” หมายความว่า การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย
ง. มาตรฐานการศึกษา
         “มาตรฐานการศึกษา” หมายความว่า ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษาทุกแห่ง และเพื่อใช้เป็นหลักในการเทียบเคียงสำหรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
จ. การประกันคุณภาพภายใน
          “การประกันคุณภาพภายใน” หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น
ช. การประกันคุณภาพภายนอก
          “การประกันคุณภาพภายนอก” หมายความว่า การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
ซ. ผู้สอน
          “ผู้สอน” หมายความว่า ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 5

พระสงฆ์ ศิษย์ธรรมกาย ขู่ดีเอสไอเคลื่อนขบวน หากไม่นำอาหารส่งต่อภายในวัด






ตัวแทนพระสงฆ์วัดพระธรรมกาย เปิดเผยว่า ดีเอสไออนุญาตให้นำอาหารสดใส่กล่องเข้าไปในวัดได้วันละ 300 กล่องเท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการ ขณะนี้ต้องการให้เจ้าหน้าที่นำอาหารไปส่ง กำหนดเวลาภายใน 10.00น. ถ้าไม่มาศิษยานุศิษย์อาจจะเคลื่อนออกจากพื้นที่และนำของเข้าไปภายในวัดเอง ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยเส้นทางได้ เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ ให้มารับอาหารบิณฑบาตรที่นี่ รับผิดชอบนำส่งให้ถึงมือภายในวัดพระธรรมกาย เดี๋ยวนี้ เราจะรอถึง 10.00น. ถ้า 10.00น. ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ อาหารบิณฑบาตรในส่วนของวัดพระธรรมกายยังตั้งอยู่ตรงนี้ อาตมาต้องยอมรับตามตรงว่าอาจจะไม่สามารถชี้แจงกับญาติโยมสาธุชนที่มาร่วมใส่บาตรในวันนี้ได้ เพราะทุกคนอยากจะนำอาหารเหล่านี้ส่งเข้าไป เขาอาจจะยกอาหารเหล่านี้บุกเข้าไปเองตัวแทนพระสงฆ์วัดพระธรรมกายกล่าว
                นอกจากนี้ ยังเรียกร้องให้ยกเลิกมาตรา 44 กับพระธัมมชโยและตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ต และชูป้ายข้อความเรียกร้องทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ อ้างเจ้าหน้าที่ทำเกินกว่าเหตุ ขณะที่บริเวณตลาดกลางคลองหลวง ยังมีศิษยานุศิษย์ปักหลักสวดมนต์และทำกิจกรรมต่างๆภายในเต็นท์ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี มีคำสั่งแต่งตั้งเจ้าคณะอำเภอและพระวินยาธิการ สนับสนุนในการร่วมปฏิบัติภารกิจกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในการบังคับใช้กฎหมายกับวัดธรรมกาย ณ บริเวณจุดคัดกรอง ประตู 7 ประจำวันที่ 25 ก.พ.60

ที่มา: http://news.tlcthai.com/news/824617.html

อนุทินที่ 4

แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ 2


1.ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย

  • ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ ซึ่งเหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่ถือเป็นฉบับแรกคือ คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า“บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้วมีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนำประเทศของตนในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาในภายภาคหน้า”
  • ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ หมวด2สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างการเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา,2475,536)


2. แถวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย

  • หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชาวไทย มาตรา36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ
  • หมวด4 หน้าที่ของชาวไทย มาตรา53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
  • หมวด5 แนวนโยบายแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มาตรา62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดีมีร่างกายแข็งแรง และอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย

- มาตรา63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมาบัญญัติ
- มาตรา64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
- มาตรา65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ราชกิจจานุเบกษา,2492,25-27)

3.เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 พุทธศักราช 2521  เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย

  • แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 มีความเหมือนกัน คือ  รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและตามความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐและพึงให้ความเสมอภาคแก่บุคคล  การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่างๆในการอบรมทุกระดับภาคส่วน 

4.  ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย

  • มีความเหมือนกัน คือ  รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490และรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช25492-2517นั้นมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพียงหมวดเดียวเหมือนกันถึงแม้จะชื่อหมวดและมาตราต่างกันแต่แนวนโยบายมีความเหมือนกันคือ หมวด2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา14ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490และหมวด3 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา23ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517นั้นได้กล่าวไว้ว่า ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา,2475,536)และรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517นั้น พอจะสรุปได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีชื่อว่า  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475  ต่อมาได้เปลี่ยนคำว่าราชอาณาจักรสยามเป็นราชอาณาจักรไทย จนถึงปัจจุบัน และกล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากหนัก ได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพ การพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ

5.ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
·มีความเหมือนกันในประเด็นแรกคือ เป็นรัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนชื่อมาใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”

  • มีความต่างกันในประเด็นถัดไป คือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ โดยในประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 คือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพและมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาเมื่อไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับและกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษา (ราชกิจจานุเบกษา,2521,13) จัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐและสถานศึกษาทั้งปวงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ สนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ และส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ สนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติ ให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อความมั่นคงของรัฐ(ราชกิจจานุเบกษา,2521,17) ส่วนในประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 จะกล่าวถึงในบุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยเท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและในส่วนของรัฐที่รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ให้กับบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี และจะต้องจัดอย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย และการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกันและส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสานึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 3


สรุปข่าวทางการศึกษา
สั่งออกราชการครูโหดทำร้ายเด็กพิเศษวัย12ปี ผวจ.ชัยภูมิรุดเยี่ยมพร้อมมอบเงินช่วยเหลือ


                     16 ส.ค.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะที่จ.ชัยภูมิ ความคืบหน้ากรณีด.ช.วัย 12 ปี นักเรียนเด็กพิเศษผู้พิการทางสมองโรงเรียนแห่งหนึ่ง(โสตศึกษา)จ.ชัยภูมิ ถูกครูฝ่ายปกครองและผู้รับผิดชอบดูแลหอพักของโรงเรียน ลงโทษสุดโหด ด้วยการลากไปเตะต่อยมาตลอด ซึ่งเด็กไม่กล้าบอกใคร จนเด็กเกิดอาการล้มป่วยเพราะได้บาดเจ็บภายในสาหัสเลือดทะลักออกจมูกและอาเจียนออกเป็นเลือดมาตลอดตั้งแต่วันแม่แห่งชาติ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา

                     หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมีการเผยแพร่ออกไปจนกระทั่งเมื่อมารดา นางระเวียง จำบัวขาว อายุ 46 ปี ชาวต.ชีบน อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ ที่มีอาชีพหาเช้ากินค่ำได้อาศัยช่วงวันแม่แห่งชาติวันหยุดงานเพื่อมาขอพบพาลูกไปดูแลบ้าน เกิดพบอาการผิดปกติของบุตรชายวัย 12 ปี มีร่องรอยถูกทำร้ายร่างกายฟกช้ำไปทั้งตัวและมีเลือดออกจมูกมาตลอด และมีอาการอาเจียนออกเป็นเลือดมาตลอดจนต้องเร่งนำส่งโรงพยาบาลชัยภูมิให้แพทย์ช่วยเหลืออาการอย่างเร่งด่วนมาตั้งแต่วันที่ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา และพยายามติดต่อขอความเป็นธรรมไปทางโรงเรียนแต่ก็ไม่เคยได้รับการดูแลและแสดงความรับผิดชอบจากโรงเรียนและครูผู้ก่อเหตุเลยแต่อย่างใด จนต้องวอนขอความเป็นธรรมผ่านสื่อมวลชนให้ช่วยประสานความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง