วันจันทร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 7

แบบฝึกหัดทบทวน

พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎกระทรวง


คำสั่ง  ตอบคำถามต่อไปนี้ (1-3 พ.ร.บ.ภาคบังคับ, 4 พ.ร.บ.บริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ)

1. เหตุผลทำไมต้องประกาศพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
·       การศึกษาเป็นกระบวนการหนึ่งที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ เป็นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพเพื่อความสมบูรณ์และเจริญงอกงามทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม สังคม อารมณ์และจิตใจในการดำรงชีวิต เมื่อการศึกษานับเป็นกระบวนการพื้นฐานในการสร้างและพัฒนาคน ดังนั้น  ประชากรในประเทศหนึ่งๆจึงควรได้รับสิทธิในการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันเป็นระยะเวลาที่เหมาะสมโดยในประเทศไทยนั้นก็ได้มีกฎหมายเฉพาะที่ตราโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้และสนับสนุนสิทธิทางด้านการศึกษาของเด็กไทย โดยมีพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542และปรับปรุงให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545




2. ท่านเข้าใจความหมายตามพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545อย่างไร
                ก. ผู้ปกครอง  ข. เด็ก  ค. การศึกษาภาคบังคับ  ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
·       ผู้ปกครอง ในพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 กำหนดบทบาทหน้าที่ของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ได้แก่ กำหนดมาตรการทางกฎหมายเพื่อบังคับ บิดา มารดา หรือผู้ปกครอง ให้ปฏิบัติตาม หน้าที่ในการส่งบุตรหรือผู้อยู่ในความดูแลให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับ กำหนดเหตุยกเว้นความรับผิดชอบของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองในการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยกำหนดสาเหตุที่จะ ขอผ่อนผันหรือขอยกเว้นหน้าที่ไว้ให้ชัดเจน และมีระยะเวลาในการปฏิบัติที่แน่นอนและไม่นานเกินไป กำหนดความหมายของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองให้ชัดเจน
              ข. เด็ก หมายความว่า เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้า ของการศึกษาภาคบังคับแล้ว
               ค. การศึกษาภาคบังคับ หมายความว่า การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึง ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ
ง. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครอง  ส่วนท้องถิ่น เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนาสถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาโดยเป็นผู้จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา บริจาคทรัพย์สินและทรัพยากรอื่นให้แก่สถานศึกษา และมีส่วนร่วมรับภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษาตามความเหมาะสมและความเป็นจำ ทั้งนี้ ให้รัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมและให้แรงจูงใจในการระดมทรัพยากรดังกล่าว โดยการสนับสนุน การอุดหนุนและใช้มาตรการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีตามความเหมาะสมและความจำเป็น ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

3. กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษอย่างไร และถ้าเด็กไม่สามารถเข้ารับการศึกษาใครจะเป็นผู้มีอำนาจในการผ่อนผันเด็กเข้าเรียน
·       ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่ง  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ตามที่พบเด็กในสถานที่นั้น  แล้วแต่กรณีเพื่อดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา
สำหรับกรณีผู้ปกครองไม่ส่งเข้าเรียนตามที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดจะต้องถูกลงโทษตาม
กฎหมายดังต่อไปนี้
                            มาตรา  13 ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา  6  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
                            มาตรา  14  ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 9  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
                            มาตรา  15  ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร  กระทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เรียนในสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
                            มาตรา  16  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  11   หรือแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ    ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
                ซึ่งการผ่อนผันส่งเด็กเข้าเรียนสถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันการเข้าเรียนตามคำร้องขอของผู้ปกครองโดยคณะกรรมการผ่อนพัน จำนวน 5 คน ผอ.เป็นประธาน ครูชั้นประถมศึกษาปีที่1 1 คน ผู้แทนกรรมการโรงเรียน 2 คน รองผู้อำนวยการ เป็นกรรมการและเลขานุการ ถือเสียงข้างมาก

4. ให้นักศึกษาสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการอ่านพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ราชการกระทรวง
ศึกษาธิการ
·       มาตรา  1  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า  “พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ  พ.ศ.2545”
มาตรา  2  ระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปมาตรา  3  ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติประถมศึกษา  พ.ศ.2523
มาตรา  4  ในพระราชบัญญัตินี้  “การศึกษาภาคบังคับ”  หมายความว่า  การศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้าของการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ “สถานศึกษา”  หมายความว่า  สถานศึกษาที่จัดการศึกษาภาคบังคับ “ผู้ปกครอง”  หมายความว่า  บิดามารดา  หรือบิดา  หรือมารดา  ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และหมายความรวมถึงบุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน “เด็ก”  หมายความว่า  เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่เจ็ดจนถึงอายุย่างเข้าปีที่สิบหก เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่เก้าของการศึกษาภาคบังคับแล้ว  “คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”  หมายความว่า  คณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ “คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา”  หมายความว่า  คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”  หมายความว่า  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีสถานศึกษาอยู่ในสังกัด “พนักงานเจ้าหน้าที่”  หมายความว่า  ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติมี “รัฐมนตรี”  หมายความว่า  รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
มาตรา  5  ให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  แล้วแต่กรณี  ประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา  และการจัดสรรโอกาสเข้าศึกษาต่อระหว่างสถานศึกษาที่อยู่ในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับโดยให้ปิดประกาศไว้  ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และสถานศึกษา  รวมทั้งต้องแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้ปกครองของเด็กทราบก่อนเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี
มาตรา  6  ให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา เมื่อผู้ปกครองร้องขอ ให้สถานศึกษามีอำนาจผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับได้  ทั้งนี้  ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนด
มาตรา  7  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปในสถานที่ใด ๆ  ในเวลาระหว่าง
พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกหรือในเวลาทำการของสถานที่นั้น  เพื่อตรวจสอบการเข้าเรียนของเด็ก  หากพบว่ามีเด็กไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาตามมาตรา  5  ให้ดำเนินการให้เด็กนั้น  ได้เข้าเรียนในสถานศึกษานั้น  แล้วรายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วแต่กรณีทราบในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนตามวรรคหนึ่งได้  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่รายงานให้คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นท้องที่ที่พบเด็ก แล้วแต่กรณี  เพื่อดำเนินการให้เด็กได้เข้าเรียนในสถานศึกษา
มาตรา  8  ในการปฏิบัติหน้าที่  พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา  9  ในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่  ให้ผู้ซึ่งเกี่ยวข้องอำนวยความสะดวกตามสมควร
มาตรา  10  ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา  11  ผู้ใดซึ่งมิใช่ผู้ปกครอง  มีเด็กซึ่งไม่ได้เข้าเรียนในสถานศึกษาอาศัยอยู่ด้วย  ต้องแจ้งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา  หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  แล้วแต่กรณี  ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่เด็กมาอาศัยอยู่  เว้นแต่ผู้ปกครองได้อาศัยอยู่ด้วยกับผู้นั้น การแจ้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
มาตรา  12 ให้กระทรวงศึกษาธิการ  คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  และสถานศึกษา  จัดการศึกษาเป็นพิเศษสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย  จิตใจ สติปัญญา  อารมณ์  สังคม  การสื่อสารและการเรียนรู้  หรือมีร่างกายพิการ  หรือทุพพลภาพ  หรือเด็กซึ่งไม่สามารถพึ่งตนเองได้  หรือไม่มีผู้ดูแล  หรือด้อยโอกาส  หรือเด็กที่มีความสามารถพิเศษให้ได้รับการศึกษาภาคบังคับด้วยรูปแบบและวิธีการที่เหมาะสม  รวมทั้งการได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก  สื่อ บริการ  และความช่วยเหลืออื่นใดตามความจำเป็น  เพื่อประกันโอกาสและความเสมอภาคในการได้รับการศึกษาภาคบังคับ
มาตรา  13  ผู้ปกครองที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา  6  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา  14  ผู้ใดไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา  9  ต้องระวางโทษปรับไม่
เกินหนึ่งพันบาท
มาตรา  15  ผู้ใดโดยปราศจากเหตุอันสมควร  กระทำด้วยประการใด ๆ  อันเป็นเหตุให้เด็กมิได้เรียนในสถานศึกษาตามพระราชบัญญัตินี้  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา  16  ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา  11  หรือแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ  ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
มาตรา  17  ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มาตราที่  18  ในระหว่างที่ยังไม่มีคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา ให้คณะกรรมการการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร คณะกรรมการการประถมศึกษาอำเภอ หรือคณะกรรมการการประถมศึกษากิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณี ทำหน้าที่แทนคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา และให้สำนักงานการประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ หรือสำนักงานการประถมศึกษากิ่งอำเภอแล้วแต่กรณี  ทำหน้าที่แทนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มาตรา  19  ให้บรรดากฎกระทรวง ประกาศ ระเบียบ ข้อบังคับ และคำสั่งที่ออกตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา  พ.ศ.2523  ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษายังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดแย้งกับบทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้มาตรา  20  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้  และให้มีอำนาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่  กับมีอำนาจออกประกาศเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น