1.ให้นักศึกษาอธิบาย
คำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ตอบ - ศีลธรรม คือ ความประพฤติที่ดีที่งามของมนุษย์ทุกๆคน โดยไม่ได้ถูกจำกัดว่า
บุคคลผู้นั้นจะมีเชื้อชาติหรือศาสนาอะไร
มันเป็นเรื่องของมโนธรรมหรือจิตสำนึกที่ดีที่งาม ที่มนุษย์ทุกๆคนควรจะมี
ตัวอย่างเช่น ความยุติธรรม ความถูกต้อง ความชอบธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต
ความเสียสละ ความกตัญญู เป็นต้น และอีกหนึ่งความหายของศีลธรรม
หมายถึงข้อบัญญัติที่กำหนดทางปฏิบัติกายวาจา ทางพุทธศาสนา เช่น ศีล 5 ศีล 8
ศีลธรรม ความหมายตามพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525 หมายถึง
ความประพฤติประพฤติชอบ ธรรมในระดับศีล
แต่ถ้าจะได้ความหมายชัดเจนจึงควรสรุปว่า
ศีลธรรม หมายถึง
หลักแห่งความประพฤติดีประพฤติชอบอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนา
และเป็นศัพท์บัญญัติที่ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า morals หรือ morality
-จารีตประเพณี คือ
ระเบียบแบบแผนของความประพฤติที่มนุษย์ประพฤติปฏิบัติสืบต่อกันมา
ซึ่งโดยมากมักจะมุ่งเฉพาะการกระทำภายนอกของมนุษย์เท่านั้น
และจารีตประเพณีเช่นว่านี้อาจจะเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่ม หรือเฉพาะสังคมก็ย่อมได้
ตัวอย่างเช่น ประเพณีท้องถิ่นตามหมู่บ้านในชนบทต่างๆ หรือ
ประเพณีทางการค้าระหว่างพ่อค้าด้วยกัน เป็นต้น
-กฎหมาย คือ
กฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับกับมนุษย์ในสังคม เพื่อความสงบเรียบร้อย หากผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามย่อมได้รับโทษ
และในอีกทางหนึ่งกฎหมายก็ยังเป็นสัญลักษณ์
และเป็นเครื่องมือในการแสดงออกซึ่งความยุติธรรมอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับต่อการกระทำของมนุษย์ไม่ได้มีแค่กฎหมายแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
จากการที่ได้วิเคราะห์ความหมายของศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย
สรุปว่า กฎหมายกับจารีตประเพณีมีความแตกต่างกันดังนี้
- กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ
แต่จารีตประเพณีเป็นข้อบังคับของชนชั้นใดชั้นหนึ่งหรืออาชีพใดอาชีพหนึ่งเท่านั้น
การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนกฎหมาย
ผู้กระทำจะมีความผิดและถูกลงโทษ
แต่การกระทำความผิดหรือฝ่าฝืนจารีตประเพณีจะได้รับเพียงการติเตียนจากสังคมเท่านั้น
- กฎหมายเป็นข้อกำหนดความประพฤติของมนุษย์เพียงบางอย่างเท่านั้น
แต่จารีตประเพณีครอบคลุมการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งหมด
กฎหมายกับศีลธรรมมีความแตกต่างกันดังนี้
- กฎหมายเป็นข้อบังคับของรัฐ
แต่ศีลธรรมเป็นความรู้สึกที่เกิดจากจิตใจของมนุษย์แต่ละคน
- ข้อบังคับของกฎหมายกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นส่วนใหญ่
ส่วนศีลธรรมนั้นมิได้มีการกำหนดเป็นลายลักษณ์อักษรแต่อย่างใด
- กฎหมายกำหนดความประพฤติภายนอกของมนุษย์ที่แสดงออกมาให้เห็น
แต่ศีลธรรมเป็นเพียงแต่คิดในทางที่ไม่ชอบก็ผิดศีลธรรมแล้ว
- กฎหมายนั้น
ผู้ฝ่าฝืนจะได้รับผลร้ายหรือถูกลงโทษ แต่ศีลธรรมนั้นขึ้นอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของคนๆ
นั้นโดยเฉพาะ โดยจะกระทบกระเทือนจิตใจของเขามากน้อยเพียงใดเท่านั้น
ความสัมพันธ์ของศีลธรรม จารีตประเพณีและกฎหมาย
มีหลายประการด้วยกัน
แต่กฎหมายและจารีตประเพณีต่างก็เป็นกฎเกณฑ์ที่จัดระเบียบของสังคมเหมือนกัน
มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สังคมมีความสงบสุข
ซึ่งกฎหมายอาจมีลักษณะแตกต่างจากฎเกณฑ์อื่นอยู่บ้างตรงที่กฎหมายมีโทษที่ค่อนข้างรุนแรงและเด็ดขาดกว่า
สามารถนำมาบังคับใช้ให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่า
นอกจากนั้นแล้วกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่ไม่อาจสามารถเกิดขึ้นเองได้เหมือนกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ
เช่น ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แต่กฎหมายมีจุดกำเนิดหรือที่มาของกฎหมายจากศีลธรรม ศาสนา
และจารีตประเพณี ในเรื่องของศีลธรรมที่เรานำมาใช้เป็นที่มาของกฎหมาย
2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย
คืออะไร มีการจัดอย่างไร โปรดยกตัวอย่าง
รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่งคสช.
พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5 คะแนน)
ตอบ ”ศักดิ์ของกฎหมาย”
(Hierarchy of law) คือ ลำดับชั้นของกฎหมายหรืออีกนัยหนึ่งคือ
ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน
ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น
พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย
หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น
มีการจัดการดังนี้คือ
เกณฑ์ที่ใช้กำหนดศักดิ์ของกฎหมายพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ออกโดยรัฐสภา
และเป็นการใช้อำนาจในการออกกฎหมายร่วมกันของสองสภา คือ วุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎร
ซึ่งเป็นองค์กรสูงสุด ในขณะที่กฎหมายที่มีลำดับชั้นรองลงมา
คือ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
จะถูกพิจารณาโดยสภาผู้แทนราษฎรก่อนแล้วจึงจะผ่านไปยังวุฒิสภา
ถือเป็นการแยกกันในการใช้อำนาจออกกฎหมาย (Ordinary laws
are voted by the two Chambers deliberating separately) เมื่อกฎหมายแต่ละฉบับถูกบัญญัติโดยองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมายแตกต่างกัน
ผลก็คือ
ทำให้กฎหมายแต่ละฉบับมีศักดิ์ของกฎหมายหรือลำดับชั้นของกฎหมายไม่เท่ากัน โดยลำดับชั้นของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกันนี้
หมายถึง ค่าบังคับของกฎหมายแต่ละฉบับจะสูงต่ำแตกต่างกันไป เช่น รัฐธรรมนูญซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศและเป็นกฎหมายแม่บท กฎหมายฉบับอื่นที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด จะมีเนื้อหาที่ขัดหรือแย้งรัฐธรรมนูญไม่ได้
ทั้งนี้ เพราะไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติ
พระราชกำหนด ต่างก็เป็นกฎหมายลูกของรัฐธรรมนูญ คือต้องอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญในการตราเป็นกฎหมาย ดังนั้น
จึงเม่ากับว่ากฎหมายลูกจะขัดกับกฎหมายแม่ไม่ได้
ถ้ากฎหมายลูกขัดกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายนั้นก็มีผลเป็นอันบังคับใช้ไม่ได้
ตัวอย่างเช่น รัฐธรรมนูญ
เป็นกฎหมายที่ออกโดยองค์กรนิติบัญญัติสูงสุดของประเทศ คือ รัฐสภา
แต่บางกรณีอาจมีองค์กรอื่นเป็นผู้จัดให้มีกฎหมายในระดับรัฐธรรมนูญได้ เช่น
คณะปฏิวัติออกรัฐธรรมนูญการปกครอง ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว เป็นต้น
การจัดศักดิ์ของกฎหมาย มีความสำคัญต่อกระบวนวิธีการต่างๆ ทางกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้ การตีความ
และการยกเลิกกฎหมาย เช่น
หากกฎหมายฉบับใดมีลำดับชั้นของกฎหมายสูงกว่า
กฎหมายฉบับอื่นที่มีลำดับชั้นต่ำกว่า
จะมีเนื้อหาของกฎหมายที่ขัดหรือแย้งกับกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูงกว่านั้นไม่ได้ หากพิสูจน์ได้ว่ามีความขัดหรือแย้งดังกล่าว
ถือว่ากฎหมายลำดับชั้นต่ำกว่าจะถูกยกเลิกไป
ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
1.
รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ
คำสั่งคสช.
2.
พระราชบัญญัติ
3. พระราชกำหนด
4.
พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง
5.
พระราชกฤษฎีกา
6.
กฎกระทรวง
7.
เทศบัญญัติ
3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ
เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ
"กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง
ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ
โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ
อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา
สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา
เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี
น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง
พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้
แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย
บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป"
จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้
ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5 คะแนน)
ตอบ จากเหตุการณ์ดังกล่าว
เวลาที่ครูบางคนโกรธ อารมณ์เสียหรือไม่พอใจสิ่งใด ก็มักมาลงอารมณ์กับเด็ก
ด้วยการทำร้ายทารุน เช่น ตบ ตี เตะ ต่อย
ขว้างปาสิ่งของใส่ ด่าว่า ตะคอกด่าว่าเด็กด้วยถ้อยคำที่รุนแรงหยาบคาย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่สร้างบาดแผลในใจเด็กทั้งสิ้น
อีกทั้ง อาจส่งผลให้เด็กซึมซับเอาพฤติกรรมเหล่านี้มาจนกลายเป็นคนมีนิสัยและพฤติกรรมเสี่ยงที่เป็น
นักเลง ก้าวร้าว โมโหร้าย เป็นต้น
ตามเนื้อข่าวแล้วปัญหาคือเด็กอ่านหนังสือไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาปกติใน
ชั้นเรียนที่นักเรียนแต่ละคนจะมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นครูควรหาวิธีการสอน
หรือแนวการสอนใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมในการอ่านของนักเรียนมากขึ้น
ไม่ใช่มาใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา
แม้ว่าปัญหาเรื่องการทำร้ายหรือทารุณกรรมเด็กจะไม่มีวันหมดไป จากสังคมไทย
แต่ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และจะเป็นครูในอนาคตจึงมี
หน้าที่ในการช่วยดูแลไม่ใช่ซ้ำเติม และจากข่าวข้างต้นครูได้ทำร้ายเด็กเกินกว่าเหตุ
เพราะแค่เด็กอายุเพียง 6 ขวบ อ่านหนังสือไม่ค่อยออก
ไม่ควรทุบตีหรือทำร้ายเด็กขนาดนี้
ครูได้ประพฤติผิดทางวินัยอย่างร้ายแรงตามข้อปฏิบัติทางวินัยจึงต้องได้รับโทษทางวินัยที่ระบุไว้ในมาตรา
96 ซึ่งต้องโทษลาออก
4. ให้นักศึกษา
สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
จุดแข็ง(Strength)
1.ส่งงานตรงเวลาตามที่อาจารย์กำหนดไว้
2.ปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้ดี
เวลาทำงานกลุ่ม
3.ยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนในชั้นเรียน
4.ยอมเสียสละรับผิดชอบงานที่ตนเองมีความสามารถทำได้
5.กระตือรือร้นในการค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมในการเรียน
จุดอ่อน(Weakness)
1.ต้องใช้ระยะเวลามากในการจดจำและทำความเข้าใจเนื้อหาการเรียน
2.ไม่ชอบทำกิจกรรมกลุ่ม
เพราะมันวุ่นวายในการประสานงานระหว่างกลุ่ม
3.ขาดความรอบคอบในการตรวจทานงานที่ทำ
4.เมื่อไม่เข้าใจเนื้อหา
มักไม่ถามอาจารย์
โอกาส(Opportunity)
1.ได้เรียนรู้และศึกษากฎหมายที่เกี่ยวกับอาชีพตนเองในอนาคตที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง
2.ได้พัฒนาคำศัพท์ภาษาอังกฤษ
เนื่องจากคำศัพท์เป็นศัพท์เฉพาะในวิชากฎหมาย
3.ได้เรียนรู้วิธีคิดใหม่ๆ
จากการเรียน ทำให้สามารถนำไปปรับใช้กับชีวิตได้
4.สามารถนำความรู้จากการเรียนไปปรับใช้กับวิชาอื่นได้
อุปสรรค(Threats)
1.สื่อการเรียนการสอนส่วนมากเป็นเนื้อหาล้วนๆ
ทำให้เข้าใจในเนื้อหายาก และต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ
2.เมื่ออาจารย์ให้ทำชิ้นงานหรือแบบฝึกหัด
จะไม่รู้คำตอบที่ถูกต้องเพราะอาจารย์ไม่เฉลย
3.เนื่องจากเป็นการเรียนในช่วงเช้า ทำให้ไม่มีสมาธิในการเรียน
4.หิวในเวลาเรียน
เนื่องจากไม่ได้ทานข้าวเช้าก่อนมาเรียน
5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร
บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
ข้อดี
1. ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน
ซึ่งสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันและสามารถปรับใช้กับการสอนในรายวิชาอื่นได้
ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างชิ้นงานที่เหมาะสม
2. เมื่อมีการนำเสนองาน
อาจารย์จะช่วยเสริมความรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องนั้น ซึ่งสามารถตอกย้ำความเข้าใจได้เป็นอย่างดี
3. อาจารย์มีจิตวิญญาณความเป็นครูสูง
ผู้เรียนสามารถดูเป็นแบบอย่างในการประกอบวิชาชีพได้
4. มีความรู้ที่ครบถ้วนและแม่นยำในรายวิชาที่สอน
สามารถยกตัวอย่างในการเรียนการสอนได้
5. เชิญวิทยากรผู้มีประสบการณ์ในเรื่อง
SWOT จากที่อื่นมาบรรยาย ทำให้ได้มุมมองความคิดใหม่ๆ
ข้อเสีย
1. การใช้เทคโนโลยีที่มากเกินไปจะส่งผลกระทบต่อเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องก็เป็นได้
เนื่องจากเวลาอาจารย์ให้แบบฝึกหัดไปทำแล้วอาจารย์ไม่ได้เฉลยข้อมูลที่ถูกต้อง
จึงทำให้นักศึกษาไม่อาจรู้เลยว่าข้อมูลหรือแบบฝึกหัดที่ตนเองได้ทำไปนั้นถูกต้องหรือไม่