แบบฝึกหัดทบทวนบทที่ 2
1.ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเป็นอย่างไร อธิบาย
- ผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ คณะราษฎร์ ซึ่งเหตุผลของผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยามที่ถือเป็นฉบับแรกคือ คณะราษฎร์ต้องการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า“บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้วมีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนำประเทศของตนในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดี สมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาส ให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาในภายภาคหน้า”
- ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาคือ หมวด2สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างการเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา,2475,536)
2. แถวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
- หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชาวไทย มาตรา36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและเทศบาลต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้นๆ
- หมวด4 หน้าที่ของชาวไทย มาตรา53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
- หมวด5 แนวนโยบายแห่งรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา มาตรา62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดีมีร่างกายแข็งแรง และอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
- มาตรา63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดำเนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมาบัญญัติ
- มาตรา64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือให้มีอุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
- มาตรา65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (ราชกิจจานุเบกษา,2492,25-27)
3.เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
- แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 มีความเหมือนกัน คือ รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรมและการฝึกอบรมตามความเหมาะสมและตามความต้องการของประเทศ การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐและพึงให้ความเสมอภาคแก่บุคคล การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือผู้ยากไร้ให้ได้รับทุนและปัจจัยต่างๆในการอบรมทุกระดับภาคส่วน
4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
- มีความเหมือนกัน คือ รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490และรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช25492-2517นั้นมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเพียงหมวดเดียวเหมือนกันถึงแม้จะชื่อหมวดและมาตราต่างกันแต่แนวนโยบายมีความเหมือนกันคือ หมวด2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา14ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490และหมวด3 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา23ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517นั้นได้กล่าวไว้ว่า ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ (ราชกิจจานุเบกษา,2475,536)และรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 25492-2517นั้น พอจะสรุปได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับแรกที่มีชื่อว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ต่อมาได้เปลี่ยนคำว่าราชอาณาจักรสยามเป็นราชอาณาจักรไทย จนถึงปัจจุบัน และกล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาไม่มากหนัก ได้กำหนดสิทธิและเสรีภาพ การพูด การเขียน การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ
5.ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
·มีความเหมือนกันในประเด็นแรกคือ เป็นรัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนชื่อมาใช้ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
- มีความต่างกันในประเด็นถัดไป คือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา คือ โดยในประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 คือ บุคคลย่อมมีเสรีภาพและมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาเมื่อไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ และไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการศึกษาภาคบังคับและกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษา (ราชกิจจานุเบกษา,2521,13) จัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐและสถานศึกษาทั้งปวงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ สนับสนุนการวิจัยในศิลปะและวิทยาการต่าง ๆ และส่งเสริมการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีในการพัฒนาประเทศ สนับสนุนและส่งเสริมเยาวชนของชาติ ให้เป็นผู้ที่มีความสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา คุณธรรม และจริยธรรม เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม และเพื่อความมั่นคงของรัฐ(ราชกิจจานุเบกษา,2521,17) ส่วนในประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 จะกล่าวถึงในบุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัยเท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่พลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนและในส่วนของรัฐที่รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จัดการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชน จัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดให้มีกฎหมายการศึกษาแห่งชาติ ให้กับบุคคลมีสิทธิเสมอกันในการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี และจะต้องจัดอย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ ไม่เก็บค่าใช้จ่าย และการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมกันและส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสานึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น
6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
- เหตุที่รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุให้ชัดเจน เพราะว่าต้องการให้การจัดการศึกษาของไทยเป็นไปอย่างมีระบบ และต้องการให้มีการศึกษาที่สอดคล้องกันมีความเท่าเทียมกันและมีความทั่วถึง ซึ่งสังคมในปัจจุบันมีประชาชนและผู้คนหลากหลายรูปแบบที่อาศัยอยู่ร่วมกัน แต่มีพื้นฐานความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันจึงมีความจำเป็นที่รัฐจะต้องระบุและจัดการศึกษาให้เกิดความเท่าเทียมกันภายในสังคมไม่เกิดความเหลื่อมล้ำกันและกัน
7.เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด “บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ” จงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
- เหตุที่รัฐบาลต้องกำหนด “บุคคลให้มีการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ”ก็เพราะว่าตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา หมวด3 สิทธิและเสรีภาพของชาวไทย ส่วนที่8สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มาตรา49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า12ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ หรือผู้พิการทุพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะลำบาก ต้องได้รับสิทธิและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่นและที่สำคัญก็คือต้องการให้คนมีการศึกษาติดตัวและต้องการให้มีความรู้เพื่อที่จะประกอบอาชีพและการทำงาน
8.การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 คือรัฐส่งเสริมสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นชุมชนองค์กรต่างๆ มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในการเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับฉบับที่5-10 (พ.ศ. 2540-2550) และหากมีการเปิดโอกาสให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาจริง ก็จะส่งผลให้การศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้นเพราะถ้าทั้งท้องถิ่นและรัฐได้ร่วมมือกันจะสามารถจัดการศึกษาได้อย่างถูกจุดสามารถตอบสนองความต้องการของชุมชน และความต้องการของรัฐได้อีกด้วย
9.เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน สงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
- เพราะว่าทุกคนที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกันนั้นต่างก็มาจากคนละทิศละทางกันทั้งนั้น อยู่ร่วมกันแต่มิได้หมายความว่าเติบโตมาเหมือนกัน จะมีความพร้อมที่เหมือนกัน นี่คือสาเหตุและปัจจัยหลัก ดังนั้นรัฐจึงมีความจำเป็นต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข้มแข็งของชุมชน สงเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส เพราะโอกาสของแต่ละคนนั้นมีไม่เท่ากัน สิทธิและเสรีภาพจึงมีความสำคัญเพราะแต่ละคนนั้นย่อมมีความต้องการที่จะให้ชีวิตของตนเองเดินไปในทิศทางที่ดีและมีภูมิคุ้มกันคอยหุ้มเกราะชีวิตตลอดเวลา
10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศ อย่างไรบ้าง
จงอธิบาย
- ผลของการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการจัดการศึกษาในพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก เช่น การจัดตั้งโครงการเรียนฟรี15 เป็นโครงการที่ดีในหลายด้านมากไม่ว่าจะเป็นการผ่อนความยากลำบากของครอบครัว ที่ต้องการให้บุตรหลานมีการศึกษาแต่ขาดปัจจัยในการสนับสนุนเมื่อโครงการนี้เข้ามาช่วยถือว่าเป็นโอกาสที่สำคัญของนักเรียนที่ขาดแคลนในบางคนทำให้ได้มีการศึกษาต่อในระดับที่สูงๆขึ้นไป และนอกจากจะมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปีแล้ว ยังมีทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ถือว่าเป็นการสนับสนุนที่ทำให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ในโลกกว้างและนำผลที่เรียนนั้นกลับมาพัฒนาประเทศ นอกจากจะทำให้นักเรียนเกิดความรู้ความฉลาดแล้ว ประเทศชาติก็ยังได้บุคคลที่เก่ง มีความสามารถกลับมาตอบแทนรับใช้ประเทศชาติในภายภาคหน้าอีกต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น